วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานที่ 3 กฎหมายลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร (สั่งวันที่ 12 พ.ย 2552)

ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
ทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property) ซึ่งหมายถึงสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือผลิตผลจาก ความคิดทางปัญญาของบุคคล มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงโดยตลอดควบคู่ไปกับการเปลี่ยนของพัฒนาการ ของเทคโนโลยี
เหตุผลสำคัญของการที่รัฐคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ก็เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น และส่งเสริมการจัดระเบียบการแข่งขันใน ตลาดการค้า
ผลงานทางปัญญาใดจะได้รับการคุ้มครองย่อมขึ้นอยู่กับคุณค่าของผลงานนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งก็ หมายความว่า ผู้ที่พัฒนาหรือสร้างสรรค์งานไม่อาจอ้างสิทธิทางกฎหมายในผลงานทางปัญญาของตนได้ในทุก กรณี สิ่งที่จะได้รับการคุ้มครองจะต้องมีคุณสมบัติต้องตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ผลงานทางปัญญาที่ขาด คุณสมบัติจะไม่ตกเป็นสิทธิของผู้สร้างสรรค์ หากแต่เป็นความรู้สาธารณะ (knowledge in the public domain) ที่บุคคลใดๆ อาจนำไปใช้ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย หรือเป็นการผิดต่อศีลธรรม กฎหมาย ไม่คุ้มครองผลงานที่ขาดคุณสมบัติ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้สร้างสรรค์ได้ลงทุนหรือลงแรงไปกับผลงานนั้นมาก น้อยเพียงใด
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจจำแนกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ สิทธิในทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (industrial property rights) และลิขสิทธิ์ (copyright)
ความแตกต่างระหว่างสิทธิบัตรกับลิขสิทธิ์
กฎหมายสิทธิบัตรให้การคุ้มครองเทคโนโลยีการประดิษฐ์ แต่กฎหมายของประเทศกำลังพัฒนาบาง ประเทศ รวมทั้งกฎหมายไทย มิได้คุ้มครองเฉพาะการประดิษฐ์เท่านั้น หากแต่คุ้มครองการออกแบบทาง อุตสาหกรรม (industrial designs) ภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรด้วย ซึ่งการคุ้มครองในลักษณะนี้แตกต่างกับ กฎหมายของบรรดาประเทศอุตสาหกรรม ที่แยกการคุ้มครองการออกแบบทางอุตสาหกรรมไปไว้ภายใต้ กฎหมายอีกระบบหนึ่ง
ในขณะที่กฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองความคิด (idea) ที่อยู่ภายใต้การประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้การคุ้มครองสำหรับการแสดงออกซึ่งความคิด (expression of idea) โดยมิได้คุ้มครองตัวความคิดโดยตรง ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ในงานประเภทที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น เช่น งานวรรณกรรมนาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
สิทธิบัตรจะให้สิทธิที่จะกีดกันบุคคลอื่นมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือแบบผลิตภัณฑ์ตาม สิทธิบัตร ซึ่งเท่ากับว่าผู้ทรงสิทธิเป็นผู้มีสิทธิผูกขาดโดยสมบูรณ์ (absolute monopoly right) ที่ปกป้องผู้ทรง สิทธิจากการแข่งขันของบุคคลอื่น ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าผู้กระทำละเมิดมีเจตนาที่จะลอกเลียนการประดิษฐ์ตาม สิทธิบัตรหรือไม่ ตัวอย่างเช่น นาย ก. ได้ขอรับสิทธิบัตรในการประดิษฐ์อันหนึ่งไว้ ต่อมา นาย ข. ได้คิดค้น การประดิษฐ์แบบเดียวกันได้ โดยนาย ข. ได้คิดค้นการประดิษฐ์นั้นด้วยตนเอง เช่นนี้ นาย ข. อาจถูกนาย ก. ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรห้ามมิให้ใช้ประโยชน์จากการประดิษฐ์ของตนได้ ถึงแม้ว่านาย ข. จะไม่ได้ลอกเลียนการ ประดิษฐ์ของนาย ก. ก็ตาม
สิทธิตามสิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขอรับสิทธิจากรัฐ โดยต้องมีการทำเอกสารคำขอตามแบบที่กฎหมายกำหนด และเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการตรวจสอบคำขอและคุณสมบัติการประดิษฐ์ว่ามีความถูกต้องครบถ้วน จึงจะออกสิทธิบัตรให้ ส่วนผู้สร้างสรรค์งานประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ จะได้ไปซึ่งลิขสิทธิ์ในงานนั้นโดยทันที โดยผู้สร้างสรรค์ไม่จำต้องนำงานไปจดทะเบียนหรือขอรับความคุ้มครองจากรัฐ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม (Berne Convention for theProtection of Literary and Artistic Works) ที่ห้ามการกำหนดเงื่อนไขของการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดๆ1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น