วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

งานที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร (สั่งวันที่ 12 พ.ย 2552)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร

ลิขสิทธิ์คืออะไร?
ลิขสิทธิ์คือการคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่การผลิตผลงานต้นฉบับในสหรัฐอเมริกา ลิขสิทธิ์คุ้มครองหนังสือ ภาพวาด รูปถ่าย ดนตรี วีดีโอ ซอฟต์แวร์ และอื่นๆ ลิขสิทธิ์จะอยู่ติดกับผลงานตั้งแต่ผลงานนั้นอยู่ในรูปที่จับต้องได้ (บนกระดาษ วีดีโอ และอื่น ๆ) และป้องกันคนอื่นเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน
ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิต่าง ๆ ที่อยู่ด้วยกัน รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่าย ขาย ทำซ้ำ แสดงในที่สาธารณะและสร้างผลงานที่พัฒนามาจากผลงานเดิม ลิขสิทธิ์สำหรับผลงานใหม่มีระยะเวลา 70 ปี ขึ้นอยู่กับว่าคนทำเป็นบุคคลหรือบริษัท ระยะเวลาของลิขสิทธิ์ของผลงานเก่า ๆ นั้นยากแก่การตรวจสอบ จริง ๆ แล้วผลงานเก่าไม่ได้แปลว่าลิขสิทธิ์หมดอายุแล้วเสมอไป เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะขาย ย้าย ให้ หรือให้อนุญาตสิทธิที่มีแต่เพียงผู้เดียวอันใดอันหนึ่ง หรือทั้งหมดให้กับคนอื่น จนกระทั่งหมดระยะเวลาการคุ้มครอง
การจดลิขสิทธิ์และการทำเครื่องหมาย
ในสหรัฐอเมริกา คุณไม่ต้องจดลิขสิทธิ์เพื่อจะได้รับผลประโยชน์จากการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่คุณอาจต้องจดลิขสิทธิ์ถ้าต้องการฟ้องร้องเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของคุณ คุณไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย © บนผลงานของคุณ แต่ก็เป็นความคิดที่ดี การที่ไม่มีเครื่องหมาย © ไม่ได้หมายความว่าคุณสามารถลอกผลงานไปใช้ได้ ก่อนได้รับอนุญาต
การขายผลงานที่มีลิขสิทธิ์
ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ เจ้าของสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ สามารถขายสินค้าชิ้นนั้นได้ เช่น ถ้าคุณซื้อดีวีดีภาพยนตร์ คุณสามารถขายดีวีดีแผ่นนั้นได้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ป้องกันคุณไม่ให้ไปก๊อปปี้ดีวีดีภาพยนตร์แล้วนำแผ่นที่ก็อปปี้ไปขายต่อ ถ้าคุณได้ซื้อใบอนุญาตสิทธิในการใช้สินค้าที่มีลิขสิทธิ์ คุณควรตรวจสอบใบอนุญาต และปรึกษาทนายของคุณเพื่อดูว่าคุณสามารถขายได้หรือไม่
การขายกับการให้ฟรี
การคุ้มครองลิขสิทธิ์รวมไปถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายผลงานลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าการให้ผลงานลิขสิทธิ์ที่ก็อปปี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รับอนุญาตฟรี ๆ (เช่นวีดีโอที่ก็อปปี้มา) ดังนั้นการขายดินสอที่ราคา $5.00 และ "แถม" ดีวีดีที่ก็อปปี้มาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการผิดกฎหมาย
สิทธิในการเปิดเผยต่อสาธารณะ
ในทำนองเดียวกัน การใส่หน้าของใครบางคน รูป ชื่อ หรือลายเซ็นลงในสินค้าที่ขายนั้น เป็นสิ่งต้องห้ามโดยกฎหมาย “Right of Publicity” ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และกฎหมายที่เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวบางอย่าง ดังนั้นการใช้ภาพของคนดังเพื่อการค้า อาจเป็นการละเมิดสิทธิของคนดังคนนั้นถึงแม้ว่าภาพนั้นถ่ายโดยผู้ขายและผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ตาม
เบิร์นคอนเวนชั่น?
เบิร์นคอนเวนชั่นไม่ได้เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่ได้หมายถึงว่าสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่ฝ่าฝืน กฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา ได้ เบิร์นคอนเวนชั่นเป็นสนธิสัญญาสากลที่สหรัฐอเมริกาเซ็นในปี 1989 โดยการเซ็นสนธิสัญญานี้ สหรัฐอเมริกาให้คำมั่นสัญญาว่าจะแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์บางอย่างของตัวเอง
*ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อเป็นการแนะนำทางกฎหมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยว่าจะขายสินค้าบนอีเบย์ได้หรือไม่ เราแนะนำให้คุณติดต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือปรึกษาทนายความของคุณ
การฝ่าฝืนนโยบายอาจจะเกิดผลตามมาได้หลายอย่างรวมไปถึง
• การยกเลิกรายการประกาศขายของคุณ
• การจำกัดสิทธิการใช้งานแอคเคานต์ของคุณ
• การระงับใช้งานแอคเคานต์
• ยึดค่าธรรมเนียมรายการประกาศขายที่ถูกยกเลิก
• สูญเสียสถานะ PowerSeller
ตัวอย่าง
ผู้ขายจะละเมิดการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และกฎหมายโดยการกระทำต่อไปนี้:
• ก็อปปี้หนังดีวีดีแล้วนำแผ่นก็อปไปขาย (นอกจากว่าผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์)
• เอาหนังสือไปถ่ายเอกสารแล้วนำไปขาย (นอกจากว่าผู้ขายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์)
• เปลี่ยนแปลงและขายภาพวาด หรือรูปถ่ายที่มีลิขสิทธิ์
ความรู้เบื้องต้นกับสิทธิบัตร
สิทธิบัตรให้สิทธิแก่นักประดิษฐ์ในการใช้ประโยชน์ของตนในเชิงพาณิชย์ โดยมีช่วงระยะเวลาที่แน่นอน โดยปกติมักกำหนดระยะเวลาคุ้มครองไว้ 20 ปี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธินี้ นักประดิษฐ์ต้องเปิดเผยรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และประโยชน์สาธารณะ ถ้าปราศจากระบบสิทธิบัตร นักประดิษฐ์จะขาดแรงจูงใจในการคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เนื่องจากสิ่งที่คิดค้นขึ้นจะถูกเลียนแบบอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นน้อยเกินไป สำหรับงานหนักที่นักประดิษฐ์ได้ลงแรงไป
การ ประดิษฐ์คิดค้นที่มีสิทธิจดสิทธิบัตรได้นั้น จะต้องเป็นสิ่ง/เรื่องใหม่ ไม่สามารถเห็นเด่นชัด และประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ได้ และเช่นเดียวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบอื่นๆ สิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลประเภทหนึ่ง ที่สามารถมอบหมาย อนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือเก็บค่าใช้สิทธิได้โดยผ่านการจำนอง
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิบัตร
1. สิ่งประดิษฐ์ใดที่สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้
1.1 เป็น การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้แพร่หลาย หรือจำหน่ายมาก่อนในประเทศ ยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน หากเคยยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้ในต่างประเทศมาก่อนจะต้องยื่นคำขอในประเทศไทย ไม่เกิน 18 เดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกในประเทศ
1.2 เป็น การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ประเภทเดียวกันที่มี มาก่อน หรือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจทำได้โดยง่ายต่อผู้ที่มีความรู้ในระดับธรรมดา ในสาขาวิทชาการด้านนั้นๆ
1.3 เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรมได้
กรณี ที่ผลงานของท่านเป็นลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการขายด้วย หรือยังไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ ก่อนวันขอรับสิทธบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
2. สิ่งที่จดสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่
2.1 จุลชีพ และส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสาร สกัดที่ได้จากสัตว์และพืช เหล่านี้ถือเป็นการค้นพบเท่านั้น แต่ในกรณีที่นำไปผสมกับสารหรือส่วนประกอบอื่น สามารถที่จะขอจดสิทธิบัตรได้
2.2 กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2.3 ระบบ ข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้รับความคุ้มครองในฐานะที่เป็นงานด้านวรรณกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่ แล้ว
2.4 วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ เนื่องจากหากให้ความคุ้มครองไปอาจมีผลกระทบต่อชีวิต คนและสัตว์ได้
2.5 การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
3. เอกสารคำขอสิทธิบัตร ประกอบด้วย
3.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตรและเอกสารประกอบคำขอ
3.2 รายละเอียดสิ่งประดิษฐ์
3.3 ข้อถือสิทธิ
3.4 บทสรุปการประดิษฐ์
3.5 รูปเขียน (ถ้ามี)
รายละเอียดการประดิษฐ์ จะประกอบด้วยหัวข้อย่อยต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์
2. ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ - เป็นการอธิบายถึงจุดประสงค์ วิธีการ และลักษณะสำคัญของสิ่งประดิษฐ์นั้น
3. สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ - ระบุว่าสิ่งประดิษฐ์นั้นจัดอยู่ในเทคโนโลยีประเภทใดหรืออยู่ในศาสตร์แขนงใด
4. ภูมิ หลังของวิทยาการที่เกี่ยวข้อง - เป็นการอ้างอิงเอกสารต่างๆ ที่แสดงถึงวิทยาการที่มีอยู่เดิม ตลอดจนข้อบกพร่อง หรือปัญหาที่นำมาสู่การประดิษฐ์ที่กำลังขอรับสิทธิบัตรอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น